โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่คุ้มศรีสง่าเมือง ถนนยุทธศาสตร์ อุดรธานี-เลย เขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2514 รับสมัครนักเรียนสหศึกษาเปิดสอนระดับมัธยมศึกษา ในปีแรก ๆ อาศัยเรียนที่โรงเรียนหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในสมัยนั้น อาคารถาวรหลังแรกของโรงเรียนสร้างขึ้นเมื่อปี 2516 (ปัจจุบัน คือ อาคาร 3) เป็นอาคารแบบ 216 โดยในครั้งแรกนั้นมีเฉพาะส่วนกลางของอาคารจำนวน 8 ห้องเรียน มีเนื้อที่ทั้งหมด 34 ไร่ ครู-อาจารย์ 3 คน นักเรียน 90 คน ต่อมาภายหลังได้ต่อเติมเต็มรูปแบบและมีอาคารหลังอื่นๆ เพิ่มขึ้นมา[2]
ในปีการศึกษา 2518 กระทรวงศึกษาธิการได้สั่งยุบและรวมโรงเรียนหนองบัวลำภู สังกัดกองการประถมศึกษา กรมสามัญศึกษา ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ทำให้เนื้อที่เพิ่มเป็น 59 ไร่เศษ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2518 มีครูอาจารย์ รวม 19 คน นักการภารโรง 2 คน โรงเรียนได้เข้าโครงการ คมช รุ่นที่ 13 ในปี พ.ศ. 2519 และเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2521 และปี 2535 ได้เข้าร่วม โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
ก่อนการจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภูมีฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เมื่อมีพระราชบัญญัติประกาศจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารจึงมีฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ในปัจจุบันโรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเปิดสอน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 81 ห้องเรียน เป็นนักเรียนประมาณ 3,200 คน ลูกจ้างประจำ 12 คน ครูอาจารย์ประมาณ 200 คน ภายใต้การนำของท่านผู้อำนวยการ นายเล็ก ขมิ้นเขียว โรงเรียนได้รับการจัดอันดับให้เป็นโรงเรียนลำดับที่ 1 ของจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวัดจากผลการทดสอบระดับชาติโดยใช้ค่าเฉลี่ยของโรงเรียนเป็นมาตรฐาน [3]
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 17:15:14/15:15:13 รวม 89 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 218 คน [4] นักเรียน 3,437 คน [5] มีอาคารเรียนถาวร 6 หลัง สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดภารกิจ ให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานคุณภาพ ดังต่อไปนี้
- 1. โรงเรียนยอดนิยม ที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจ จึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
- 2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามกรอบกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ดำเนินงานโดยเน้น “ห้องเรียนคุณภาพ” เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
- 3. โรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร ดังนี้
- 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย
- 1) หลักสูตรโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ตามแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในชั้น ม.1 - ม.6
- 3.2 โครงการพิเศษ ประกอบด้วย
- 1) โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- 2) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- 3) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SC) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- 4) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SM) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- 5) โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program : ICE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
- 6) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ต้องจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality management System) ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)
ปัจจุบัน โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ร่วมกับ โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคารและโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ และยังเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร
สถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]
- อาคาร 1 -อาคารอำนวยการ
- อาคาร 2 -ห้องวิชาการ -กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
- อาคาร 3 -กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
- อาคาร 4 -กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
- อาคาร 5 -กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ -กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- อาคาร 6 -กลุ่มสาระภาษาไทย -กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- อาคารคหกรรม
- อาคารอุตสาหกรรม
- อาคารเกษตรกรรม
- อาคารหอประชุม
- อาคารหอประชุมใหม่
- สนามกีฬา
- โรงอาหาร
- โดม (ลานหน้าเสาธง)
หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]
โรงเรียนหนองบัวพิทยาคารมีแผนการเรียนให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความชอบ โดยยึดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่
มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3) |
แผนการเรียนพิเศษ |
พิเศษ |
3 ห้องเรียน |
จำนวนที่รับ |
English integrated study |
EIS |
2 ห้องเรียน |
โครงการของ สสวท |
80 คน |
Science Program |
SC |
1 ห้องเรียน |
โครงการของ สสวท |
30 คน |
ทั่วไป |
ทั่วไป |
14 ห้องเรียน |
จำนวนที่รับ |
ทั่วไป |
ทั่วไป |
14 ห้องเรียน |
โครงการของ โรงเรียน |
560 คน |
รวม |
17 ห้องเรียน |
670 คน |
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6) |
กลุ่มสาระการเรียนรู้ |
ชื่อย่อ |
จำนวนห้องเรียน |
หมายเหตุ |
จำนวนที่รับ |
วิทยาศาสตร์ |
วิทยาศาสตร์ |
11 ห้องเรียน |
430 คน |
Gifted Education Program |
Gifted |
1 ห้องเรียน |
โครงการของ สสวท |
30 คน |
English integrated study |
EIS |
1 ห้องเรียน |
โครงการของ สสวท |
40 คน |
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ |
วิทย์-คณิต |
9 ห้องเรียน |
โครงการของ โรงเรียน |
360 คน |
ภาษา |
ภาษา |
4 ห้องเรียน |
160 คน |
ภาษาศาสตร์ |
คณิต-ภาษา |
4 ห้องเรียน |
โครงการของ โรงเรียน |
160 คน |
รวม |
15 ห้องเรียน |
590 คน |
แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร[แก้]
- โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ English integrated study Classroom
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Science-Math Program-SM) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
รายนามผู้บริหาร[แก้]
ลำดับ |
รายนาม |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 |
นายสาลี ธรเสนา |
พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515 |
2 |
นายวีระพงษ์ ชีวะคำนวณ |
พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2523 |
3 |
นายฉลาด นิเทศ |
พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2529 |
4 |
นายณรงค์ ชาติภรต |
พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2535 |
5 |
นายสงบ ผลินยศ |
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2541 |
6 |
นางสาวนิวรณ์ สุทธิบุญ |
พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 |
7 |
นายวีระ พรหมภักดี |
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550 |
8 |
นายประสิทธิ์ ศรีเชียงสา |
พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2553 |
9 |
นายสนิท วงศ์แสงตา |
พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556 |
10 |
นางวิลาวัณย์ พรหมโส |
พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560 |
11 |
ดร.เล็ก ขมิ้นเขียว |
พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน |
แผนผังโรงเรียน[แก้]

กิจกรรมโรงเรียน[แก้]
กีฬาสี บัวพิทย์เกมส์[แก้]
โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร จะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยแบ่งคณะสีทั้งหมด 6 คณะสีคือ
- คณะสีชมพู
- คณะสีแดง
- คณะสีม่วง
- คณะสีเขียว
- คณะสีเหลือง
- คณะสีฟ้า
โดยมีเป้าหมายคือ ให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างการแข็งแรงตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมกีฬาภายใน ซึ่งในปีปัจจุบันได้จัดเป็นครั้งที่ 48
รูปภาพ อาคารและสถานที่ต่างๆในโรงเรียน[แก้]
เกียรติประวัติโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร[แก้]
- รางวัลคุณภาพระดับองค์กร (SCQA : School Quality Awards)
จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA : Office of the Basic Education Commission Quality Awards)
จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ประจำปีการศึกษา 2558
จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
- โรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ ปลอดยาเสพติด ประจำปี 2542
จาก กระทรวงศึกษาธิการ
- โรงเรียนรักษาศีล 5
จาก กระทรวงศึกษาธิการ